ทำความรู้จัก Sensor ตรวจจับชิ้นงาน แต่ละประเภทใช้งานอย่างไร?

114

ในยุคที่เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทแทบในทุกอุตสาหกรรม ซึ่งในโรงงานการผลิต ระบบอัตโนมัติ (Automation) ก็ต่างมีความสำคัญในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และตรวจสอบการทำงาน และคุณภาพของสินค้าได้เป็นอย่างมาก แถมยังช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ภายในโรงงานได้เป็นอย่างดี วันนี้เราขอพาคุณผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักกับระบบ Sensor ตรวจจับชิ้นงาน อีกหนึ่งนวัตกรรมที่ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการตรวจสอบการทำงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Sensor ตรวจจับชิ้นงาน

ระบบ Sensor ตรวจจับชิ้นงานคืออะไร?

ระบบที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงลักษณะ หรือคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ หรือสิ่งของต่างๆ ภายในโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนแปลงขนาด รูปร่าง ความสูง และการกระจัด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่ตั้ง แล้วนำข้อมูลที่ได้ ในรูปแบบของข้อมูลมาเข้าสู่กระบวนการแจกแจกข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อไป โดยข้อดีของระบบ Sensor ตรวจจับชิ้นงานนี้จะช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตภายในโรงงานนั้นมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

ระบบ Sensor ตรวจจับชิ้นงานมีประเภทไหนบ้าง?

  • ตรวจจับแบบปกติ (Proximity Sensor) 

เป็นระบบ Sensor ตรวจจับชิ้นงานประเภทวัตถุ เพื่อให้ทราบถึงตำแหน่งหรอที่ตั้งของวัตถุ โดยปราศจากการสัมผัส การตรวจจับประเภทนี้มักจะนิยมใช้ในการตรวจจับ ตำแหน่ง ระดับ ขนาด และรูปร่างของวัตถุ

  • ตรวจจับด้วยภาพ (Vision Sensor/Machine Vision System)

 เป็นการถ่ายภาพวัตถุ แล้วนำภาพมาประเมินผลว่ามีลักษณะ หรือคุณสมบัติตามที่คุณต้องการหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็น ขนาด สี รูปร่าง หรือตำแหน่ง โดยจุดเด่นของ Sensor ประเภทนี้ นั่นก็คือการทำงานที่ถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำ มักนิยมใช้ตรวจจับความผิดปกติของชิ้นส่วนต่างๆ ในการผลิต ไม่ว่าจะเป็น ชิ้นส่วนโลหะ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

  • ตรวจจับด้วยแสง (Photoelectric Sensor)

เป็นการใช้ลำแสงในการตรวจจับวัตถุ ทั้งแบบที่มองเห็น และมองไม่เห็น โดยสามารถตรวจจับได้ทั้งในระยะที่ใกล้และไกล

  • ตรวจจับโดยการวัดระยะ (Displacement/Measurement Sensor)

เป็นการวัดระยะทาง และขนาดของชิ้นงาน เหมาะสำหรับการตรวจสอบวัตถุที่มีขนาดเล็ก หรือน้ำหนักเบา

  • ตรวจจับโดยการอ่านโคด (Code Reader/OCR)

ใช้ในการอ่านข้อความ ตัวเลข หรือตัวอักษรต่างๆ บนชิ้นงาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในเครื่องจักรอื่นๆ ต่อไป

  • ตรวจจับผ่านการหมุน (Rotary Encoder)

เป็นการแปลงสัญญาณไฟฟฟ้า มาเป็นค่าทางการหมุน ใช้ในการตรวจจับระยะความเร็ว ทิศทาง หรือตำแหน่งต่างๆ 

  • อัลตราโซนิค (Ultrasonic Sensor) 

เป็นการใช้คลื่นอัลตราโซนิคในกกาารตรวจจับวัตถุโปร่งใส เช่น ฟิล์มใส หรือขวดแก้ว

  • ตรวจจับการไหล โดยการวัดความดัน (Pressure Sensor/Flow Sensor)

เป็นการวัดความดัน เพื่อตรวจจับการไหลของของเหลว และก๊าซ 

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับระบบ Sensor ตรวจจับชิ้นงาน ที่เราเชื่อว่าถ้าคุณได้ศึกษาข้อมูลการใช้งานที่ถูกต้องของแต่ละประเภท จะช่วยเพิ่มประสิทธภาพและความปลอดภัยในการทำงานได้มากขึ้น