ดัชนีมวลกาย (BMI) คืออะไร สำคัญต่อสุขภาพอย่างไร

481

ดัชนีมวลกาย หรือ BMI (Body Mass Index) คือการใช้น้ำหนัก + ส่วนสูง มาคำนวณค่าน้ำหนักตัว และปริมาณไขมันในร่างกาย ถึงแม้จะไม่ใช่การบ่งชี้ค่าได้โดยตรง แต่เป็นแค่การคำนวณเบื้องต้น ขั้นพื้นฐานที่ใช้ได้ ซึ่งหากอยากให้แม่นยำมากขึ้นก็ต้องนำองค์ประกอบอื่น ๆ มาพิจารณาร่วม ไม่ว่าจะเป็น พันธุกรรม ปริมาณกล้ามเนื้อ พฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิตประจำวัน การออกกำลังกาย เป็นต้น

ดัชนีมวลกาย

หากมีค่า BMI ที่อยู่เกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือเข้าขั้นอ้วน ก็สามารถนำไปเป็นตัวชี้วัดในเรื่องของความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ โดยปัญหาสุขภาพที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นก็อย่างเช่น ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, มะเร็งบางชนิด และปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น

สำหรับการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย หรือBMI สามารถใช้วัดค่าผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป สูตรในการคำนวณคือ น้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง โดยค่า BMI จะแบ่งเป็น 5 ระดับดังนี้

30.0 ขึ้นไป – อ้วนมาก เป็นน้ำหนักตัวที่อยู่ในเกณฑ์อันตราย เสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย

25.0 – 29.9 – อยู่ในเกณฑ์ที่อ้วน ถึงแม้จะไม่อันตรายเท่ากับอ้วนมาก ที่ก็ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้เช่นกัน

23.00-24.99 – อยู่ในเกณฑ์รูปร่างท้วม ถึงแม้ยังไม่อ้วนแต่ก็มีแนวโน้มว่าใกล้จะอ้วน ดังนั้นควรรีบลดน้ำหนักลงให้อยู่เกณฑ์ปกติ

18.6 – 24 – น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีรูปร่างที่เหมาะสม อยู่ในระดับที่เสี่ยงจะเกิดโรคต่าง ๆ ได้น้อยที่สุด ควรรักษาระดับเอาไว้

ต่ำกว่า 18.5 – ผอมมากเกินไปควรจะทานให้มากขึ้น (อาหารที่มีประโยชน์) เพราะเสี่ยงต่อโรคขาดสารอาหาร ร่างกายอาจจะมีอาการอ่อนเพลีย

โดยค่าดัชนีมวลกายที่คำนวณออกมานี้เป็นค่าของชาวเอเชียที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ซึ่งผู้หญิงมีแนวโน้มค่า BMI และไขมัน สูงกว่าผู้ชาย และหากมีอายุมากเท่าไหร่ก็ยิ่งสูงมากเท่านั้น

แต่ในกรณีที่เป็นนักกีฬาที่มีค่า MIB สูง เพราะเกิดจากน้ำหนักของกล้ามเนื้อไม่ใช่ไขมันนั้นไม่สามารถนำมาวัดค่าได้

เราจะเห็นได้ว่าค่า BMI จะเพิ่มหรือจะลดขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวเป็นหลัก หากคำนวณออกมาแล้วว่าสูงเกินเกณฑ์ ก็ต้องรีบลดน้ำหนักโดยเร็วโดยปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิตไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงาน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ ควบคุมอาหาร งดขนม งดมัน แอลกอฮอล์ ลดแป้ง น้ำตาล และเครื่องดื่มรสหวาน เน้นทานผักผลไม่เยอะ ๆ

นอกจากนี้ควรหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หรือหากพบค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ปกติควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางแก้ไข จะได้ไม่เสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ที่อาจจะอันตรายถึงแก่ชีวิตได้